News Update
Home / ENTERTAINMENT NEWS / ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีจัดให้ชมฟรี 2013 Korean Symphony Orchestra Asia Tour in Bangkok and Singapore วันที่ 2 พย.นี้

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีจัดให้ชมฟรี 2013 Korean Symphony Orchestra Asia Tour in Bangkok and Singapore วันที่ 2 พย.นี้

ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลี จัดงาน 2013 Korean Symphony Orchestra Asia Tour in Bangkok and Singapore ให้ผู้สนใจดนตรีออเครสตร้า เข้าชมฟรี
สถานที่ : โรงละครแห่งชาติ
วันที่ทำการแสดง : 2 พฤศจิกายน 2556
สำรองที่นั่งได้ที่เบอร์ 02-651-0165 เปิดรับจองถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2556
และสามารถมารับบัตรได้ที่หน้างานในเวลา 18.00 น. โดยการแสดงจะเริ่มเวลา 19.00 น.
หากไม่ได้สำรองที่นั่งล่วงหน้า  สามารถเข้าชมได้ จำนวนจำกัด

วงดุริยางค์ชั้นนำของประเทศเกาหลี โคเรียนซิมโฟนีเฟิร์สต์เอเชียนทัวร์ 2013

(Korean Symphony’s First Asian Tour in 2013)

วันที่ 2 และ 4 พฤศจิกายนนี้ดนตรีคลาสสิคแห่งเกาหลี จะดังก้องขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทย และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางของกระแสเกาหลี วงดุริยางค์ชั้นแนวหน้าของเกาหลีอย่าง วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี จะเปิดการแสดง ทัวร์เอเชีย โดยจัดการแสดงในวันที่ 2 พฤศจิกายน ณ โรงละครแห่งชาติ ประเทศไทย และวันที่ 4 พฤศจิกายน ณ เอสพลานาดคอนเสิร์ตฮอลล์ ประเทศสิงคโปร์

คอนเสิร์ตนี้จะเปิดฉากด้วยการแสดง “แดนซ์ซิ่งอารีรัง (Dancing Arirang)” ซึ่ง ลิม จุน ฮี เรียบเรียงขึ้นใหม่จากเพลงพื้นบ้านเกาหลี และควบคุมวงโดย หัวหน้าวาทยกร คิม ฮี ชอน ต่อด้วยการบรรเลง เอฟ ลิซท์ เปียโน คอนแซร์โต้ หมายเลข 1 (F. Liszt’s Piano Concerto No. 1) โดย คิม แท ฮยอง ผู้ได้รับสมญานามว่าเป็นนักเปียโนคลื่นลูกใหม่แห่งเกาหลี และปิดท้ายด้วยการแสดง ซิมโฟนี หมายเลข 5 (Symphony No.5) ซึ่งเป็นบทประพันธ์อันน่าประทับใจ ของ พี.ไอ. ไชคอฟสกี (P.I. Tchaikovsky) การแสดงผลงาน เพลงที่มีชื่อเสียงในคอนเสิร์ตครั้งนี้ ถือเป็นการการันตีตำแหน่งอันทรงเกียรติ ในฐานะวงดุริยางค์ซิมโฟนีระดับประเทศได้เป็นอย่างดี

 

 


 

แดนซ์ซิ่ง อารีรัง โดย ลิม จุน ฮี: เยียวยาชีวิตที่เปลี่ยนผ่านของชาวเกาหลี ด้วยถ้อยวลีแห่งความหวัง(June-Hee Lim’s Dancing Arirang)

‘แดนซ์ซิ่ง อารีรัง’ ของ ลิม จุน ฮี เป็นการนำเพลงพื้นบ้านของเกาหลีอย่าง ‘อารีรัง’ มาเรียบเรียงใหม่สำหรับใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ ซิมโฟนี บทเพลงนี้พรรณนาถึงความสุข และความขมขื่นของชาวเกาหลีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ผ่านท่วงทำนองอันไพเราะ บทเพลงนี้ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน จากการเป็นสื่อกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ของ ชาวเกาหลี ทั้งที่อาศัยอยู่ในประเทศเกาหลี และผู้มีเชื้อสายเกาหลีที่กระจายอยู่ทั่วโลกด้วย

 

นักประพันธ์เพลง ลิม จุน ฮี ได้กล่าวถึงผลงานของเธอว่า “ฉันอยากบรรยายถึงจิตใจอันแข็งแกร่งของชาวเกาหลี ที่ก้าวผ่าน ความยากลำบากมาได้อย่างกล้าหาญ และความทรงพลังของ ‘อะ แดนซ์ซิ่ง โคเรีย’ ที่เป็นแสงนำทางสู่อนาคต” โดยนำท่วงทำนอง ที่คุ้นเคยมาเรียบเรียงใหม่ในท่วงทำนองที่สนุกสนานและมีสีสัน ถือว่าเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นความเป็น เค-คลาสสิค ได้เป็นอย่างดี

 

‘อารีรัง’ เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีที่เล่าขานสืบทอดกันมาช้านาน นับว่าเป็นเพลงพื้นบ้านเก่าแก่ของเกาหลีที่มีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามภูมิภาคและยุคสมัย อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ในการประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 ณ กรุงปารีส

การร่วมมือระหว่างคิม แท ฮยอง นักเปียโนรุ่นใหม่ตัวแทนของเกาหลี และชเว ฮี ชอนวาทยกร

เปียโน คอนแซร์โต้หมายเลข 1 โดย เอฟ.ลิซท์(Piano Concerto No.1 by F.Liszt)

 

คิม แท ฮยอง ผู้ร่วมทัวร์ในโคเรียน ซิมโฟนี เอเชียนทัวร์ (Korea Symphony’s Asian Tour) ในฐานะศิลปินเดี่ยว เป็นนักเปียโนชั้นแนวหน้า รุ่นใหม่ของเกาหลี เขาชนะรางวัลการแข่งขันดนตรี ควีน เอลิซาเบธ(Queen Elisabeth Music Competition) และการประกวดดนตรีนานาชาติที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น Hamamatsu International Piano Competition และ Concours International Marguerite Long – Jacques Thibaud และยังเป็นที่รักของแฟนดนตรีคลาสสิคชาวเกาหลี จำนวนมากอีกด้วยสำหรับคอนเสิร์ตครั้งนี้ เขาจะแสดง เปียโน คอนแซร์โต้หมายเลข 1 ของ ลิซท์(Liszt’s Piano Concerto No.1)ให้แฟน ๆ ดนตรีคลาสสิคในกรุงเทพฯ และสิงคโปร์ได้รับฟังฟรานซ์ ลิซท์(Franz Liszt)ผู้เป็นปรมาจารย์อันยิ่งใหญ่แห่งยุค ได้ประพันธ์ เปียโน คอนแซร์โต้ หมายเลข 1 (Piano Concerto No.1) ขึ้นเพื่อพัฒนาการสื่ออารมณ์เพลงผ่านเครื่องดนตรี และทำให้ผู้บรรเลงได้แสดงเทคนิคและสื่ออารมณ์ออกมาได้อย่างเต็มที่

 

คิม แท ฮยอง เคยแสดง เปียโน คอนเสิร์ต หมายเลข 1 ของ ลิซท์ (Piano Concerto No.1 by Liszt) ร่วมกับวาทยกร คริสเตียน เอวอลด์ (Christian Ehwald) ผู้ได้รับการยกย่องจากผู้ชมและนักวิจารณ์ ในคอนเสิร์ตของซิมโฟนีเกาหลีปี 2010 มาแล้ว และการแสดงที่จะมาถึงนี้ เขาจะแสดงเพลงนี้อีกครั้ง ร่วมกับวาทยกรอาวุโสชเว ฮี ชอน


 

ซิมโฟนี หมายเลข 5 (Symphony No.5) ผลงานชิ้นโบว์แดงของไชคอฟสกี(P.I. Tchaikovsky) ที่ผสานอารมณ์สิ้นหวังเข้ากับทำนองเพลงพื้นบ้านรัสเซีย

การแสดงชุดปิดท้ายของคอนเสิร์ตในครั้งนี้คือ ซิมโฟนี หมายเลข 5 (Symphony No. 5)  ที่ได้รับการกล่าวขานว่า เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดจาก ซิมโฟนีทั้ง 6 ของไชคอฟสกี บทประพันธ์นี้มีชื่อเสียงในการสื่อความหดหู่สิ้นหวังออกมาได้ อย่างงดงามและไพเราะ ด้วยการผสมผสานการเรียบเรียงบทเพลงอันหรูหราและมีสีสัน เข้ากับทำนองเพลงที่นุ่มนวลและโรแมนติก

 

ผลงานนี้เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สร้างความรุ่งโรจน์ให้แก่เขา และแม้ว่าเขาจะประพันธ์เพลงนี้ขึ้นในขณะที่กำลังทุกข์ทรมานจาก ความสิ้นหวังในชีวิต แต่ผลงานนี้กลับเป็นที่ชื่นชอบและ ได้รับการยกย่องว่าเป็นเพลงท้องถิ่นของรัสเซียและสลาฟอีกด้วย

 

สำหรับการแสดงร่วมกันของหัวหน้าวาทยกร ชเว ฮี ชอน และวงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีในครั้งนี้ คงมีหลายท่านที่ตั้งตารอชม การแสดง ซิมโฟนี หมายเลข 5 (Symphony No.5) ซึ่งเป็นบทเพลงที่ถ่ายทอดความสิ้นหวังของไชคอฟสกีและความรู้สึกแบบรัสเซีย

 

วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี ได้จัดคอนเสิร์ตเอเชียทัวร์ในครั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 55 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างเกาหลีใต้และไทย และเฉลิมฉลองการเปิดศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นวาระครบรอบ 50 ปี การก่อตั้งชุมชนเกาหลีในสิงคโปร์อีกด้วย จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะช่วยส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลี และสร้างความ ภาคภูมิใจให้แก่ชาวเกาหลีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการเผยแพร่เค-คลาสสิคในประเทศไทย และสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเมือง ศูนย์กลางของกระแสเกาหลี

 

คอนเสิร์ตโคเรียน ซิมโฟนี เอเชียทัวร์ 2013 ครั้งนี้ จะปิดฉากลงที่สิงคโปร์

 

สิงคโปร์ได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเกาหลีมากมาย เช่น การจัดคอนเสิร์ตเค-ป็อบ และการแสดงเทควันโด นอกจากนี้ ยังมีการนำเข้าเกม ภาพยนตร์ และละครเกาหลีอีกด้วย จึงทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กระแสเกาหลีในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ และเอเชียกลาง ภายในเวลาอันรวดเร็ว

 

คอนเสิร์ตในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี การตั้งถิ่นฐานของชาวเกาหลีในสิงคโปร์ จึงมีการแสดงเพลง ‘แดนซ์ซิ่งอารีรัง’ ซึ่ง ลิม จุน ฮี ได้เรียบเรียงมาจากเพลงพื้นบ้านเกาหลีอันโด่งดัง เพื่อแสดงเนื้อแท้ของวงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี อีกทั้งยังมีการแสดงผลงานเพลงคลาสสิคเลื่องชื่อ อาทิ เปียโน คอนแซร์โต หมายเลข 1 ของ ลิซท์ (Piano Concerto No.1 by Liszt) และ ซิมโฟนี หมายเลข 5 ของ ไชคอฟสกี (Symphony No. 5 by Tchaikovsky) อีกด้วย


ตารางคอนเสิร์ต

รายการ

June-Hee Lim_ Dancing Arirang  (15’)

임준희_ 댄싱 아리랑

 

F. Liszt_ Piano Concerto No. 1 in Eb Major, S. 124  (30’)

리스트_ 피아노 협주곡 1 Eb장조 작품 124

 

P. I. Tchaikovsky_ Symphony No. 5 in e minor, Op. 64  (50’)

차이코프스키_ 교향곡 5 e단조 작품 64

*การแสดงและนักแสดงอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า

วันและสถานที่

วันเสาร์ที่ 2 พ.ย. 2556 เวลา 19.00 น. / กรุงเทพ – โรงละครแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 4 พ.ย. 2556 เวลา 19.30 น. / สิงคโปร์ – เอสพลานาด คอนเสิร์ต ฮอลล์

นักแสดง

ชเว ฮี ชอน – วาทยกร / คิม แท ฮยอง – เปียโน

จัดโดย วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี

สนับสนุนโดย

กรุงเทพ –กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย | สมาคมเกาหลีประจำประเทศไทย | สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

สิงคโปร์ – กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐเกาหลี | สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศสิงคโปร์ | สมาคมเกาหลีประจำประเทศสิงคโปร์

ติดต่อ :

สาธารณรัฐเกาหลี – วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี +82-2-523-6258

กรุงเทพ – ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีประจำประเทศไทย +66-87-012-6483

สิงคโปร์ – เรฟกรุ๊ป +65-6299-8966


ผู้แสดง/ศิลปิน

IMG_8188

Korean Symphony Orchestra

ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคมค.ศ. 1985 วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้จัดคอนเสิร์ตมากกว่า 90 ครั้งตลอดช่วงระยะเวลา 28 ปี ที่ผ่านมา พวกเขาพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองจนกลายตัวแทนวงดุริยางค์ซิมโฟนีของเกาหลี

หลังจากทำสัญญากับโรงละครแห่งชาติเกาหลีในปี ค.ศ.1987 และเปิดการแสดงร่วมกับ อุปรากรแห่งชาติเกาหลี บัลเล่ต์แห่งชาติเกาหลี และวงคอรัสแห่งชาติเกาหลี วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้พิสูจน์ความสามารถจนเป็นที่รู้จักในฐานะ วงออเคสตร้าวงเดียวของประเทศที่เชี่ยวชาญการบรรเลงประกอบการแสดงโอเปร่า และบัลเล่ต์ หลังจากได้รับอนุญาตจาก กระทรวงวัฒนธรรม การกีฬาและการท่องเที่ยว ให้จัดตั้งเป็นองค์กร ในปี ค.ศ. 1989 วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้กลายเป็นมูลนิธิ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2001 และในโอกาสครบรอบ 16 ปีของการจัดตั้ง พวกเขาได้เริ่มต้นใหม่กับการวงดุริยางค์หลักของ ศูนย์ศิลปะโซล

วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลี เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในปี ค.ศ. 1989 และ 1990 จากการจัดการแสดงพิเศษ ณ สนามจัมชิลอารีน่า (Jamsil Arena) สำหรับ Grand Choral Concert ร่วมกับคอรัสเสียงคุณภาพอีก 5,000 คน และยังได้แสดงต่อหน้านักดนตรี ชื่อดังของโลกหลายๆท่านที่เดินทางมาร่วมชม อาทิเช่น Placido Domingo, Jose Carreras, Angela Ghorghiu, และ Radu Lupu อีกด้วย และในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2010 ซึ่งเป็นวาระครบรอบปีที่ 25 วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้เปิดแสดงคอนเสิร์ตที่ Carnegie Hall นครนิวยอร์ก และ Cerritos Hall นครลอสแองเจลลิส ข่าวของพวกเขาได้ลงในสื่อท้องถิ่นมากมาย รวมถึง The New York Times ด้วย วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้พบกับผู้ฟังในหลากหลายโอกาส ไม่ใช่เพียงแค่ในคอนเสิร์ตเพลงคลาสสิก แต่พวกเขายังได้ บันทึกเสียงเพลงประกอบภาพยนตร์ อย่าง ‘Shiri’ และ ‘Taegukgi’ และยังได้ร่วมแสดงในglobal pop star sting’s concert ในโซลอีกด้วย

 

ปัจจุบัน วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลีได้มีการพัฒนาและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ภายใต้การนำของผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และวาทยกรชเว ฮี ชอน ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคมปี ค.ศ. 2011 พวกเขาสามารถดึงดูดความสนใจแฟน ๆ ได้อย่างท่วมท้น ด้วยคอนเสิร์ตประจำปี 6 คอนเสิร์ต รวมถึงซีรีย์พิเศษที่จัดขึ้นเพื่อ Kids Concert, Rising Star และ Year-End Concert ที่เริ่มจัดในปี ค.ศ. 2011 และในปี ค.ศ. 2010 พวกเขายังได้ร่วมมือกับองค์กรทางด้านศิลปะของเกาหลี ในการจัดโปรเจ็คระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมความกลมกลืนทางวัฒนธรรมอีกด้วย

วงดุริยางค์ซิมโฟนีเกาหลียังคงพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผยแพร่ดนตรีคลาสสิคให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้นในหลาย ประเทศ

 

 

KSO Conductor

ผู้อำนวยการเพลงและวาทยกร : ชเวฮีชอน

ชเว ฮี ชอน จบการศึกษาจาก Musikhochschule Hanns Eisler Berlin’s Konzetexamen เขาเป็นนักเรียนคนแรกในประวัติศาสตร์ ของ Hochschule für Musik Dresden ที่ได้รับประกาศนียบัตรวาทยกรขั้นสูงเขาชนะเลิศรางวัล Karajan Award จากการแข่งขัน การควบคุมวงในรายการ Deutsche Hochschulwettbewerb Competition ในปี ค.ศ. 2003 และยังได้รับรางวัลชนะเลิศจาก การแข่งขันการควบคุมวงรายการBad Homburg Competitionในปี ค.ศ. 2005 อีกด้วย

ชเว ฮี ชอนเคยควบคุมวงออเคสตร้าหลายวง รวมถึง Berliner Sinfonietta Orchester (ปัจจุบันคือ Berlin Konzerthausorchester), Jena Philharmonie, Staatsorchester Kassel, Brandenburgisches Staatsorchester และ Staatsorchester Rheinland-Pfalz เขาประสบความสำเร็จ จากการควบคุมวงใน Verdi’s La Traviata และการแสดงโอเปร่าอื่นๆ ที่โรงละครแห่งชาติมิวนิก โรงอุปรากรไฮเดลเบิร์ก และโรงอุปรากรอันนาเบิร์ก นอกจากนี้ชเว ฮี ชอนยังได้แสดงเปิดการแสดง Joern Arnecke’s Drie Helden ที่โรงอุปรากรปราสาทไรน์สเบิร์ก ซึ่งได้รับการยอมรับจาก Berliner Morgenpst ว่าเป็นการควบคุมวงที่ ‘สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ ผู้บรรเลง’

ชเว ฮี ชอนเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการทั่วไปและวาทยกรของ Mozart’s Die Entführung ausdemSerail ในเทศกาลโอเปร่า Oder-Spree และเขายังได้ควบคุมวงในการแสดงโอเปร่า และคอนเสิร์ตอีกมากมายในตำแหน่งวาทยกรหลักของโรงละครรัฐ แซกโซนี การแสดงโอเปร่าของเขา ได้แก่Verdi’s Othello, Mozart’s Cosi fan tutteและ Puccini’s Tosca

ในเกาหลี เขาได้เป็นวาทยกรรับเชิญที่ โซลฟีลาร์โมนิก บูชอนฟีลาร์โมนิก แดจอนฟีลาร์โมนิก และกวางจูซิมโฟนี เขายังได้รับรางวัล Nanpa Award ครั้งที่ 41 และชเว ฮี ชอนได้เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์และวาทยกรประจำวงคนที่ 4 ของวงดุริยางค์ ซิมโฟนีเกาหลี ในปี ค.ศ. 2011 พร้อมทั้งเป็นศาสตราจารย์ในภาควิชาการควบคุมวง ที่มหาวิทยาลัยฮันยางอีกด้วย

 

Pianist Kim Tae Hyung
Pianist Kim Tae Hyung

คิม แท ฮยอง ได้เปิดตัวในฐานะตัวแทนนักเปียโนรุ่นใหม่ของเกาหลี จากการได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันเปียโนนานาชาติ ปอร์โต ครั้งที่ 21 ในปี ค.ศ. 2004 นอกจากนี้เขายังได้รับรางวัล Best Interpretation Prize of Beethoven Sonata และรางวัลจากการแข่งขันระดับนานาชาติรายการใหญ่ๆ อีกหลายรายการ เขาได้กลายมาเป็นนักเปียโนที่มีชื่อเสียงระดับโลก เมื่อได้รับรางวัลที่ 5 ในรายการ Queen Elisabeth International Competition ในเบลเยียม และรางวัลชนะเลิศ พร้อมกับ รางวัลขวัญใจผู้ชมจากการแข่งขันรายการ Hastings International Piano Concerto Competition

เขาได้แสดงร่วมกับวงดุริยางค์ท้องถิ่น และวงดุริยางค์นานาชาติที่มีชื่อเสียง รวมถึงวงดุริยางค์ซิมโฟนีเคบีเอส วงดุริยางค์ซิมโฟนี- เกาหลี วงดุริยางค์ประสานเสียงบูชอน วงดุริยางค์ประสานเสียงแดจอน วงดุริยางค์แชมเบอร์เกาหลี วงดุริยางค์แห่งชาติฝรั่งเศส วงดุริยางค์แห่งชาติเบลเยียม และวงดุริยางค์ซิมโฟนีโตเกียว

คิม แท ฮยอง ได้รับเชิญให้ร่วมแสดงในโอกาสต่าง ๆ อาทิเช่น คอนเสิร์ต Bruges SCOOP ในปี ค.ศ. 2011 คอนเสิร์ตเปียโน- นานาชาติโยโกฮามา และ Alfred Contot Hall ในฝรั่งเศส อีกทั้งยังร่วมแสดงในงาน 4th Porto Solo Concert ในประเทศโปรตุเกส งาน Gumho New Year’s Concert in 2012และการแสดงคอนเสิร์ตส่งท้ายปีเนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปี มูลนิธิเกาหลี

เขาจบการศึกษาจากโรงเรียนเยวอน หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมศิลปะโซล เขาได้เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยศิลปะ แห่งชาติเกาหลี ภายใต้การดูแลของ คัง ชุง โม ก่อนจะได้รับประกาศนียบัตรขั้นสูง (Soloists Diploma) จากมหาวิทยาลัยดนตรีและ ศิลปะการแสดงแห่งมิวนิก ภายใต้การดูแลของ Elisso Wirssaladze หลังจากนั้น คิม แท ฮยอง เริ่มศึกษาในสาขาดนตรี แชมเบอร์ ตั้งแต่ฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 2013 ภายใต้การดูแลของ Christoph Poppen และได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ชำนาญการในด้านการสอน ดนตรีแชมเบอร์ ก่อนที่เขาจะเริ่มศึกษากับ Poppen เขาได้ย้ายไปที่ Moscow State Conservatory P. I. Tchaikovsky เพื่อศึกษาเพิ่มเติมทางด้านความละเอียดอ่อนแบบรัสเซีย ภายใต้คำแนะนำของ Elisso Wirssaladzeปัจจุบันเขาอยู่ในสังกัด Weinstadt Artists Management ซึ่งเป็นบริษัทในยุโรป และ SMOLART Concert Agency ของรัสเซีย และเขายังได้เดินทาง ไปเปิดการแสดงทั่วโลกอีกด้วย

Leave a Reply

Scroll To Top